ก่อนที่จะมี
Microsoft
Windows
โปรแกรมเมอร์ต้องเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ
DOS (แหงอยู่แล้ว)
หรืออาจจะเรียกว่า Text Mode ก็ได้ ตอนนั้นมี
Compiler
ภาษา
C/C++
ที่ดัง
ๆ อยู่ไม่กี่ตัวนั่น
ก็คือ
Borland C++, Borland Turbo C/C++
และ
Microsoft C++
สองตัวแรกเป็นของบริษัท
Borland ตัวสุดท้ายเป็นของ
Microsoft
เจ้าของระบบปฏิบัติการ
DOS ในตอนนั้น
Turbo C/C++
และ
Borland C/C++
มีคนใช้เยอะมากเพราะมีส่วนของ
IDE (Integrate
Development Environment) ที่สะดวกมากในการใช้งาน
โปรแกรมเมอร์ไม่ต้องเขียนโปรแกรมแบบ Command Line
ซึ่งไม่มีโปรแกรมคือเครื่องมีมาช่วยในการเขียนโปรแกรมเลย หรือมีแต่ใช้งานไม่สะดวก
IDE
ที่กล่าวหมายถึงโปรแกรมที่รวบรวมสภาวะการทำงานทุกอย่างที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม
Debugger โปรแกรมที่ใช้ในการแปลคำสั่ง (Compiler)
โปรแกรมช่วยเหลือ (Help)
โปรแกรมที่ใช้ในการลิงค์ (Linker)
เป็นต้น
Turbo C/C++
พัฒนาถึงแค่เวอร์ชั่น
3 (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ)
จากนั้น
Borland
ก็พัฒนาเอาดีกับ
Borland
C/C++ เพียงอย่างเดียว
ต่อมาเมื่อสู่ยุคของระบบปฏิบัติการ Microsoft
Windows
บริษัท
Microsoft
ได้ส่ง
IDE
ที่ใช่พัฒนาภาษา
C++
ชื่อว่า
Microsoft
Visual C++ 1.5
สู่ตลาดเจ้า
IDE
ตัวนี้มีคุณสมบัติที่โดดเด่นหลายอย่างและมีการรวบรวม
Class
พื้นฐานต่าง
ๆ เข้ามาเป็นหมวดหมู่เรียกว่า
Microsoft
Foundation Class
หรือ
MFC
โดยมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย
ๆ และถ้าหากมีข้อผิดพลาดก็แก้ไขให้ดีขึ้นในเวอร์ชั่นต่อไป ทางด้าน Borland
ก็ไม่ยอมน้อยหน้าพัฒนา
Borland C++ ของตนเองให้ใช้งานบนวินโดว์ได้เหมือนกันโดยประเดิม
Borland C++
เวอร์ชั่น 4
และยังมีการรวบรวม
Class
พื้นฐานไว้เหมือนกับ
Microsoft
โดยมีชื่อว่า
Object
Windows Library
หรือเรียกว่า
OWL
โดยคุณลักษณะ
ชื่อ และการใช้งานคล้ายกับ
MFC
ของ
Microsoft
มาก
(จนดูไม่แตกต่าง)
วินโดว์เวอร์ชั่นแรก
ๆ เป็นแบบ
16
บิท
(Windows
3.1x) และจำนวนผู้
Microsoft
Visual C++
กับ
Borland C++
ยังไม่ต่างกันมาก
แต่พอมาถึง
Windows
แบบ
32
บิท (รวมทั้งโปรแกรมที่ทำงานบนวินโดว์
16 บิทแต่จำลองให้เหมือนว่าเป็นแบบ
32 บิท) โปรแกรมยอดนิยมหลายตัวที่ใช้งานบนระบบปฏิบัติการของเครื่อง
Apple
เช่น
Abobe Photoshop
พากันหันมาพัฒนาเพื่อให้ใช้งารได้บนวินโดว์
และในเมื่อต้องใช้งานบนวินโดว์ก็ต้องเลือกใช้
C++ Compiler IDE
ที่เหมาะสมที่สุดเพื่อมาสร้างและพัฒนาโปรแกรมบนวินโดว์
แน่หละตัวเลือกตัวแรกและน่าจะเป็นตัวเดียวด้วยก็คือ
Microsoft
Visual C++
เหตุผลก็เพราะเป็นของ
Microsoft
ปัญหาเรื่องความเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการวินโดว์ก็ตัดทิ้งไปได้
ถ้าหากไปเลือกใช้
C++
CompilerIDE
ตัวอื่นความเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการก็อาจจะมีได้และที่สำคัญเทคโนโลยีใหม่ที่ต้องตาม
Microsoft
ก็อาจทำให้สียค่าใช้จ่ายในการซื้อเพิ่มเติม
สรุปก็คือ
Microsoft Visual C++
มีความเหมาะสมมากที่สุด
ช่วงปี 1993 -1994
โปรแกรมเมอร์พากันประหวั่นพรั่นพรึงกับแนวทางการเขียนโปรแกรมแบบ
Visual
Programming ที่มาพร้อมกับโปรแกรม Visual Programming
ที่ทำให้โปรแกรมระดับเริ่มต้นส่วนใหญ่หันไปใช้เยอะขึ้นเรื่อย ๆ
พากันคิดถึงว่าเมื่อไหร่จะมีโปรแกรมจากทาง Borland
ออกมาต่อกรกับ Visual Basic ของ
Microsoft ได้ (พูดง่าย ๆ
ก็คือเมื่อไหร่จะมีโปรแกรมที่เรียกว่า Visual Basic
Killer ซะที)
ลองนึก ๆ ดูถ้าจะเลือกภาษา
BASIC แบบเดียวกับ
Microsoft คงไม่ไหว
จะเลือก C++ ก็ยากเกินไปกลัวทำแล้วสู้
Viasul Basic ไม่ได้ถ้าจะเน้นเรื่องความง่ายในการเขียนโปรแกรม
ดังนั้นภาษา
Pascal
น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดเพราะ Borland ถนัดกว่า
Microsoft (แหงหละ Microsoft
ไม่ได้ทำนี่)และยังมี Library ของ Pascal for
Windows ด้วยเป็นทุนเดิม
(แต่ก็ยังมีข้อสงสัยว่าทำไมถึงเลือกภาษา Pascal
ที่เรียกมีใช้ในเฉพาะวงการศึกษาเท่านั้น!!!!)
เมื่อเลือกใช้ภาษา
Pascal
แล้วก็ต้องมาออกแบบ Concept
ว่าเน้นสร้าง IDE
ที่เน้นการเขียนโปรแกรมแบบ OOP
บวกกับการเขียนโปรแกรมแบบวิช่วลโปรแกรมมิ่ง (บางครั้งก็เรียกว่า การเขียนโปรแกรมแบบ
Form Base System ก็น่าจะได้)
เน้นรูปแบบ
Help
หรือเครื่องมือช่วยเหลือให้มีความน่าใช้ขึ้น
และสิ่งสำคัญเน้นให้มีความสามารถมากกว่า Visual Basic
ด้วยในบางเรื่อง และต้องใช้งานง่ายเหมือน Visual Basic เช่น
เรื่องของคำสั่ง API ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเป็น Visual
Basic แล้วจะมีขั้นยุ่งยากมาก เมื่อต้องการใช้งานคำสั่งดังกล่าว
เพราะต้องมีการ Declare
คำสั่งก่อนการใช้งาน เป็นต้น
IDE มีชื่อว่า Delphi ประวัติความเป็นมาของชื่อ
Delphi สามารถหาดูได้จาก
http://community.borland.com/article/0,1410,20396,00.html
จากนั้นไม่นานประมาณปี
1994
Borland ก็ปล่อยโปรแกรม Delphi
เวอร์ชั่น 1.0 ออกมาซึ่งมาพร้อม Bugs และมีคำสั่งพื้นฐานต่าง ๆ
ไม่เยอะเท่าที่ควร แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีความสามารถหลาย ๆ ด้านมากกว่า
Visual Basic อยู่ดี เช่น Execute
File
ที่ได้จากการเขียนโปรแกรมบน Delphi
สามารถนำไปรันได้เลยไม่จำเป็นต้องมี Runtime Library เหมือน
Visual Basic ที่สำคัญมันสามารถทำงานได้เร็วกว่า
Execute File ที่มาจาก Visual Basic
อีกด้วย
ต่อมาปี 1995 Borland
ก็ปล่อย Delphi เวอร์ชั่น 2.0 ออกสู่ตลาด
ซึ่งมีทั้งแบบ 16 บิทและ 32 บิท คุณสมบัติที่มาพร้อมกับเวอร์ชั่นนี้ก็คือแก้ไข
Bugs ต่าง ๆที่มีในเวอร์ชั่น 1.0 และเพิ่มความสามารถทางด้าน
Database ที่เรียกว่า Database Engine
เข้ามา ในช่วงนี้โปรแกรมเมอร์ C++
เดิมซึ่งส่วนใหญ่มักจะคิดว่ายังงัย C++
ก็ยังเป็นภาษาที่ยอดเยี่ยมที่สุดแต่พอลองมาใช้งาน Delphi
แล้วก็เริ่มจะสนใจในการเขียนโปรแกรมแบบ Drag and Drop ของ
Delphi กว่าการเขียนโปรแกรมแบบ resource editor
ที่อยู่ใน Borland C++ หรือ Visual
C++ และจากนั้นจำนวนผู้ใช้ Dephi
ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ในช่วงนั้น Borland
ไม่มีการตลาดที่ดีเยี่ยมเหมือน Microsoft
การตลาดที่ว่าประกอบไปด้วย
การสร้าง
IDE ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกระดับ
การโปรโมทหรือการโฆษณาที่ครอบคลุมและทั่วถึงกับลูกค้า
และที่สำคัญที่สุดคือการสร้าง
Brand Name
ของตนเองขึ้นมา
และเพื่อที่จะสร้าง Brand Name ขึ้นมาใหม่ทาง
Borland ลงทุนเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Inprise
แต่ก็เปลี่ยนได้ไม่นานก็กลับมาใช้ชื่อ Borland
เหมือนเดิมเพราะเป็น Brand Name
ที่ดีและดีมาก
ลูกค้าถ้าได้ยินชื่อ Borland ก็หมายถึงบริษัทผู้ผลิด
Compiler ที่ยอดเยี่ยมและใช้งานง่ายอยู่แล้ว
ในเรื่องการตอบสนองความต้องการของลูกค้าตรงนี้ผมว่า
Borland
มีอยู่แล้วคือได้มีการแบ่งรูปแบบการใช้งาน Delphi
ออกเป็นหลาย ๆ แบบหรือหลาย ๆ Edition คือแบบ
Standard Edition, Professional Edition และ Enterprise
Edition แต่ต้องเพิ่มเติมคือออกเวอร์ชั่นใหม่ ๆ
ให้เร็วขึ้นกว่าเดิมคือปีละหนึ่งเวอร์ชั่นและถ้ามีข้อผิดพลาดก็ส่ง Update
Pack ตามมาอีกที (ดู ๆ
แล้วเอาเปรียบลูกค้ามากเลยนะครับจะให้ซื้อใหม่ทุก ๆ
ปีเลยรึ) เพื่อให้มีการเพิ่มเติมคุณบัติต่าง
ๆ ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ในส่วนของการตลาดก็ได้มีการเปิด
Course อบรมการใช้งานการเขียนโปรแกรมโดยใช้ Delphi
และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องและมีการเผยแพร่ข้อมูลหรือวิธีการเขียนโปรแกรมบน
Delphi ในหลาย ๆ ทางและทั่วถึง เช่น เผยแพร่ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
มีการจัดทำทีมงานหรือทีมผู้สนใจทางด้านการเขียนโปรแกรม
(ได้แก่ TeamB
) เป็นต้น
ต่อจากนั้นประมาณช่วงปี 1996-1997 คุณสมบัติทางด้านการเขียนโปรแกรมแบบ
Drag and Drop ใน
Delphi ก็ไม่สามารถชักจูงโปรแกรมเมอร์ C++
เดิมให้มาใช้ Delphi
ได้ ส่วนใหญ่จะหันไปใช้
Visual C++
หรือ
Visual Basic
เนื่องจากมีความสามารถที่ทันสมัยและเหมาะสมกับการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานบน
Windows มากกว่า
ทำให้
Borland
ต้องหันกลับมาพัฒนา IDE ภาษา C++
ของตัวเองบ้าง
เพื่อที่จะดึงโปรแกรมเมอร์ภาษา C++ ให้มีมากขึ้นกว่าเดิม
โดยมีชื่อว่า Borland C++ Builder โดยเวอร์ชั่น
1.0 ออกสู่ตลาดในปี 1997 (ตอนนั้นใคร
ๆ ก็คิดว่านี่คือ Borland Delphi
ภาคภาษา C++)
Borland C++
Builder มีหน้าตา (User Interface)
ที่แทบจะเหมือนกับ Delphi
ดังนั้นโปรแกรมเมอร์ Delphi เดิมสามารถที่หันมาใช้
Borland C++ Builder ได้เลยโดยเรียนรู้การใช้งานเพิ่มขึ้นนิดหน่อย
คุณสมบัติที่มีใน Borland C++ Builder
มีดังนี้
- สามารถนำเอา
Components
ที่สร้างจาก Delphi มาใช้งานได้
- สามารถนำเอาโปรเจ็คแบบ
MFC
และแบบ Win32 ของ Visual C++
มาใช้งานได้
โดยใช้โปรแกรมเสริมที่ให้มาพร้อมกับ C++ Builder
- มีคลาสมูลฐานที่เทียบเคียงกับคลาสมูลฐานของ Delphi
สามารถอ้างอิงไปมาระหว่างกันได้
คลาสมูลฐานนี้เรียกว่า Visual Component Library (VCL)
ชื่อ VCL Class มักจะขึ้นต้นด้วย T
เช่น TEdit
เมื่อคุณเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งาน TEdit
คุณสามารถเทียบเคียงกับ TEdit ของ Delphi
ได้เพราะมีลำดับการสืบทอดต่างที่เหมือนกันกับ Delphi
- สามารถปรับแต่งคุณสมบัติของ Execute File
ได้มากและซับซ้อนกว่า Delphi
ดูตามรูปด้านล่าง
หน้าต่าง
Project Options ของ C++ Builder
หน้าต่าง
Project Options ของ Delphi
ประมาณปี 1999-2000 ช่วงนั้นกระแส
Linux มาแรงมาก ตอนนั้นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมแบบ Visual Programming
หรือแบบ Drag and Drop บน Linux
ยังมีน้อย Borland
ก็เลยคิดจะทำเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมแบบสามารถข้ามแพลทฟอร์มหรือสามารถนำโปรแกรมที่เขียนบน
Delphi บน Windows มาใช้บน
Linux บ้าง โดยในตอนแรกจะทำ Delphi
บน Linux
ก่อนจากนั้นค่อยสร้าง C++
IDE ตามมา โดยในช่วงแรก
Borland
ต้องการสร้างเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่ว่านี้ให้ออกมาในเวลารวดเร็วที่สุด ผลก็คือฺ
Borland ได้ซื้อ Library ยอดนิยมบน
Linux ที่ชื่อว่า
QT library
เข้ามาและดัดแปลงให้ใช้งานกับ IDE ที่ Borland
พัฒนาอยู่
เมื่อโปรเจ็คตัวนี้แล้วเสร็จก็ได้ชื่อว่า
Kylix
ทางด้าน
Delphi และ C++ Builder
บน Windows ก็เพิ่มเติมให้สามารถใช้งานคุณสมบัติ
QT Library ได้เข้าไปด้วย
การใช้งานความสามารถดังกล่าวก็คือให้ทำการสร้าง
Project
เป็นแบบ CLX (Borland Component Library for Cross-Platform)
โปรเจ็คที่ว่าจึงจะสามารถนำไปใช้งานได้บน Kylix
ได้
มาดูมุมมองเกี่ยว Borland Component Library for Cross-Platform
โดยผมมีข้อสงสัยว่าทำไม Borland ถึงหันมาใช้แนว
Concept นี้ที่เป็นไปได้มีไม่กี่ทางครับ
(เท่าที่คิดได้ อิอิ)
1. Borland
ต้องการที่ครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดของ IDE
หรือเครื่องมือพัฒนา Application บนแพลทฟอร์ม Linux
นอกเหนือจากแพลทฟอร์ม Windows ซึ่งถึงยังงัย
Borland
ก็ได้เปรียบทุกประตูอยู่แล้วและใช้เวลาไม่นานก็คงจะผูกขาดเพียงเจ้าเดียวในตลาด
ยกเว้นมีบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง Microsoft
ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วเรื่องอะไรจะลดตัวไปสนับสนุน Linux
อย่างนั้น)
2. Borland
ต้องการที่จะสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีหลักและโดดเด่นเป็นของตนเอง
มากกว่าที่จะต้องมาตาม Microsoft
เพียงอย่างเดียวซึ่งถึงอย่างไรก็ไม่สามารถ Update
ให้ทันสมัยเท่าทัน Microsoft ได้ไม่ว่าจะเป็น
API หรือคำสั่งต่าง ๆ ความสามารถใหม่ ๆ ที่ Microsoft
เพิ่มเข้ามา เป็นต้น ถ้า Borland
เป็นเจ้าตลาดทางเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม(IDE) บน
Linux แล้วและเป็นเจ้าเดียวในตลาดด้วย(หมายถึง IDE
หรือเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมแบบ Drag and Drop)
Borland จะสามารถทำหรือสร้างเทคโนโลยีเหล่านี้ได้
และได้ผลกำไรตามมาอย่างเป็นกอบเป็นกำ
3. Borland
ต้องการสร้าง Brand Name ของตนเองบนแพลทฟอร์ม Linux
4. Borland ต้องการดึงโปรแกรมเมอร์บนแพลทฟอร์ม Windows
มาพัฒนาบน Linux ให้มากที่สุด
มุมมองเรื่อง .NET
กับ Delphi และ .NET
กับ C++ Builder
.NET
เป็นชื่อของเทคโนโลยีของ Microsoft เกี่ยวกับการพัฒนา
Application โดยมีการทำงานแบบกระจายงาน
มุมมองของ .NET คือการกระตุ้นให้เกิดระบบการทำงานแบบกระจายงาน
เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดสามปัจจัยหลัก ซึ่งก็คือ
- ทุกสิ่งทุกอย่างคือบริการเว็บ
-
การรวบรวมและการทำงานร่วมกันของบริการเว็บ และ
-
การเตรียมการทำงานของผู้ใช้ที่สะดวกง่ายและมีความน่าสนใจ
Microsoft
กำลังทำอะไรเกี่ยวกับ .NET เรากำลังพัฒนาห้าสิ่งเพื่อตอบประเด็นเหล่านี้:
- เครื่องมือ
- เซิร์ฟเวอร์
- บริการชุดประกอบ .NET
- ซอฟต์แวร์อุปกรณ์ และ
- การทำงานของผู้ใช้
จะเห็นได้ว่า Delphi/Kylix และ C++
Builder เกี่ยวข้องกับ .NET
ก็คือเป็นชุดเครื่องมือเพื่อใช้สร้าง Application
ที่สามารถใช้งานบริการของ .NET ที่อยู่ที่เครื่อง
Server ได้ซึ่ง ณ. ตอนนี้ Borland
ก็ได้เพิ่มเติมคุณสมบัตินี้เข้าไปใน Delphi เวอร์ชั่น 7.0
แล้ว คุณสามารถเข้าไปดูข้อมูลเกี่ยว .NET ของ
Borland ได้ที่ http://www.borland.com/dotnet
สรุป
ถึงตรงนี้เราจะเห็นแนวทางการตลาดของ Borland
แบ่งเป็นสองแนวทางก็คือ
1. เดินตามเทคโนโลยีของ
Microsoft เช่น เทคโนโลยี .NET
แนวทางนี้ดูเหมือนจะดีตามความหมายที่ Microsoft
นิยามมาก็คือโปรแกรมที่พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปรันได้กับทุกแพลทฟอร์มทุกระบบปฏิบัติการที่รองรับเทคโนโลยี
.NET นี้
แต่ว่าตอนนี้เท่าที่ดูระบบปฏิบัติการที่รองรับเทคโนโลยีนี้ยังมีน้อย
และอีกอย่างเทคโนโลยีนี้เหมาะสำหรับระบบปฏิบัติการของ Microsoft
มากที่สุดอยู่แล้ว มีแต่เพียงนิยามแต่ไม่ได้ทำจริง ๆ จัง ๆ
อย่างที่วาดไว้
2. การเขียนโปรแกรมแบบข้ามแพลทฟอร์ม ตรงนี้ Borland
ต้องการที่จะดึงฐานลูกค้าบนแพลทฟอร์ม Windows
และผู้พัฒนาโปรแกรมบนแพลทฟอร์ม Linux
มาใช้งานโปรแกรมของตนเองให้มากที่สุด ฐานลูกค้าของบริษัทก็จะกว้างขวางขึ้น
โปรแกรมที่เขียนขึ้นบน Windows สามารถที่จะมาพัฒนาบน
Linux ได้ ไม่แน่นะครับต่อไป Borland
อาจจะให้ความสำคัญกับ Concept
นี้เพิ่มขึ้นเรื่องแต่เน้นให้ไปอยู่บนแพลทฟอร์ม Linux
เป็นหลัก ในอนาคตถ้า Windows ล้าสมัย Borland
ก็สบายสามารถหาผลกำไรกับ Linux
ต่อได้และพัฒนาไปใช้งานwได้บนแพลทฟอร์ม UNIX
ต่อไป
โดย :
syootakarn@hotmail.com
อ้างอิง
Microsoft
Borland
Linux |