RIM เปิดตัว BB10 สำหรับนักพัฒนาที่งาน Blackberry Jam Asia 2012
"บทความนี้เป็น เนื้อหาที่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในงาน Blackberry Jam Asia 2012 ซึ่งจัดขึ้น ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 29-30 พ.ย. 2555 ที่ผ่านมา จึงได้นำข้อมูลมาแชร์กับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ นักพัฒนาโปรแกรมชาวไทย"
งาน Blackberry Jam Asia 2012 ครั้งนี้ทาง RIM จัดขึ้นเพื่อนำเสนอระบบปฏิบัติการ Blackberry รุ่น 10 หรือเรียกสั้นๆว่า BB10 พร้อมทั้งในงานจะมีการสัมนา ถามตอบ และการลงมือปฏิบัติ สำหรับนักพัฒนาที่สนใจ อยากพัฒนาโปรแกรม ขึ้นไปให้บริการฟรี หรือขายโปรแกรมของตนเอง บน App World ซึ่งเป็น application store ของทาง blackberry งานนี้จึงเป็นแหล่งรวมของนักพัฒนาทั่วโลก โดยเฉพาะแถบภูมิภาคเอเชีย ซึ่งแน่นอนว่าหากมี ระบบปฏิบัติการใหม่ (OS: Operation System) สำหรับนักพัฒนาแล้วจะต้องมี SDK: Software Developer Kite ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา และต้องมีโปรแกรม Simulation ที่ใช้ในการทดสอบโปรแกรมที่กำลังพัฒนา และงานนี้ทาง RIM ก็ได้นำเครื่องสำหรับทดสอบมาให้พัฒนาที่ผ่านการพิจารณาจากทาง RIM ด้วย นั้นก็คือเครื่อง BB10 Dev Alpha B ซึ่งผมจะได้กล่าวต่อไป
รูปที่1
สำหรับท่านที่ไม่ทราบประวัติของ BB10 ผมจะขอเล่าโดยสรุปดังนี้ครับ เดิมที RIM ได้มีการพัฒนา OS ของตนเองขึ้นมาและให้บริการด้วย e-Mail และระบบสำหรับองค์กรมานาน และนั่นคือ OS ที่พัฒนามาด้วยแกนกลางที่เป็น Java ทำให้นักพัฒนาที่เป็นสาย Java สามารถใช้โปรแกรมทั่วๆไปในการพัฒนา เพียงแค่มีการเรียกใช้ Library ของ RIM ก็เท่านั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว RIM ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศอเมริกา โดยส่วนมากคนที่นั้นจะใช้ e-mail และ BBM (Blackberry Messenger) ในการติดต่อสือสาร และแน่นอนว่าในเมืองไทยน้อยคนนักที่จะรู้จัก จนกระทั่งมีดาราท่านนึง(ถ้าจำไม่ผิด) ได้นำมาใช้และเกิดความสนใจในหมู่ดารา จึงมีการนำมาใช้กัน จนผู้บริโภคชาวไทยโดยเฉพาะวัยรุ่น และคนทำงาน เห็นเข้า ก็สนใจเพราะในช่วงเวลาดังกล่าว ระบบสื่อสารไร้สายโดยเฉพาะ EDGE ของเราค่อนข้างดี จึงเกิดความต้องการของสินค้าและบริการจาก RIM เป็นจำนวนมาก ซึ่งทาง Operator บ้างเราก็ต้องสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างแน่นอน ช่วงนั้นกระแสของ Push mail, BBM จึงแรงมาก
และแน่นอนว่า มือถือระบบปฏิบัติการอื่นๆก็ย่อมไม่ยอมเป็นแน่แท้ จึงมีการแข่งขันออกมา โดยมีการพัฒนาระบบของตัวเองให้สามารถทำงานได้เช่นกัน จนมาถึงจุดเปลี่ยนที่ Apple ออกระบบปฏิบัติการแบบปิด สำหรับมือถือในชื่อ iOS และทาง Google เองก็ไป takeover บริษัท android นำระบบปฏิบัติการแบบเปิดซอร์สโค้ดที่ชื่อ Android มาให้ทางผู้ผลิตมือถือใช้งาน ซึ่งทั้ง Apple และ Google นั้นมีการแข่งขั้นและสู้กันในทิศทางที่เน้นการใช้งานบนการสัมผัสหน้าจอ ประกอบกับมีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับ Push-Pop mail และ messenger ต่างๆ ทำให้จุดเด่นเดิมของ BB มีคู่แข่งในตลาดเพิ่มขึ้นและหากมองไปใน OS เดิมของ RIM นั้นก็ไม่สามารถพัฒนาด้านระบบสัมผัสได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอที่จะแข่งขันกับรายอื่นๆ
รูปที่2
RIM จึงได้ไป takeover บริษัท QNX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ Real time operatingในลักษณะเดียวกับ Unix/Linux เพื่อมาเพิ่มศักยภาพของระบบปฏิบัติ และหลังจากนั้นไม่ได้ ทาง RIM ก็ได้เปิดตัว Blackber Playbook ซึ่งเป็น tablet ขนาดประมาณ 7 นิ้ว ซึ่งมีขนาดกำลังพอดี และทำงานด้าน Multi-tasking ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากที่ระบบยังไม่รองรับภาษาไทยได้อย่างเต็มร้อย คือ การแสดงผลอักษรไทย ยังไม่ดี และไม่มีคีย์บอร์ดไทย มาด้วย ทำให้ไม่ค่อยมีผู้ใช้ในไทย มากนั้น
และล่าสุด RIM ได้จัดงาน BB Jam Asia 2012 ที่กรุเทพฯ และได้เปิดตัว BB10 ซึ่งเป็น SmartPhone ตัวใหม่ระบบสัมผัสที่ได้นำระบบปฏิบัติการ QNX มาใช้ สิ่งแรกที่ผมสัมผัสเครื่องคือ มีความคล้ายคลึงกับการใช้งานบน Blackberry Playbook สิ่งที่สังเกตุถัดมา จะเห็นได้ว่ารองรับการทำงานแบบ Multi-Tasking ได้อย่างน่าสนใจ และมีการรองรับภาษาไทยทั้งอ่านและพิมพ์ผ่านคีย์บอร์ด โดยมีกำหนดการเปิดตัวจริงในวันที่ 30 ม.ค 2556 ซึ่งก็อีกไม่นาน หากประเมินถึงภาพรวมของเครื่องและระบบปฏิบัติการนั้นมีความพร้อมมากที่จะแข่งในตลาด แต่ยังมีอีกโจทย์คือโปรแกรมใน App World นั้นพร้อมที่จะแข่งหรือไม่ ซึ่งจุดนี้ทาง RIM นั้นได้เตรียมการไว้แล้ว โดยมีการเตรียมเครื่องมือในการพัฒนาที่หลากหลาย และมากมายมาให้นักพัฒนา ดังที่ผมจะได้กล่าวต่อๆไปในบทความนี้
จากที่ผมได้กล่าวไว้เบื้องต้นแล้วว่า RIM จัดหนักด้านเครื่องมือในการพัฒนา มาให้กับนักพัฒนาโปรแกรมได้เลือกใช้งาน ตามถนัดและตามพื้นฐานความรู้ครับ ทั้งนี้อาจต้องพิจาณาถึงลักษณะของโปรแกรมด้วย ว่าควรจะใช้เครื่องมือชุดใด และเทคโนโลยีอะไร ในการพัฒนาจึงจะเหมาะสม
เว็บที่รวบรวมเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับ BB10 จะอยู่ที่ Blackberry Developer ซึ่งจะมีเครื่องมือดังรูป
รูปที่3
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ครับ
- C/C++ Native SDK , เป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่ต้องเขียนด้วยภาษา C หรือ C++ ข้อดีของเครื่องมือตัวนี้คือโปรแกรมที่เขียนมาจาก Native SDK จะทำงานได้เร็ว ข้อเสียคือการพัฒนายุ่งยากต้องอาศัยผู้ชำนาญด้านภาษาซี
- C++/Qt Cascades , เป็นชุดเครื่องมือที่ช่วยให้การออกแบบ UI (User Interface) สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรม มีหน้าตาและลูกเล่นที่น่าใช้งาน โดยสามารถใช้ร่วมกับการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาซี
- HTML5 WebWorks , เป็นชุดเครื่องมือสำหรับผู้ที่พัฒนาเว็บด้วย HTML5 สามารถพัฒนาโปรแกรมโดยการใช้ชุดโปรแกรมที่ชื่อว่า WebWorks เพื่อพัฒนาออกมาเป็นโปรแกรมที่ต้องการ
- ActionScript Adobe AIR , เป็นชุดโปรแกรมสำหรับคนเขียน ActionScript บน Macromedia Flash สามารถใช้เครื่องมือตัวนี้ในการพัฒนาโปรแกรมได้
- Java Android Runtime , เป็นชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวา และแอนดรอยด์ สามารถพัฒนาโปรแกรมด้วยแอนดรอย์ด์ หรือแปลงโค้ดจากแอนดรอยด์ไปเป็นโปรแกรมสำหรับ BB10 ได้เลย แต่ต้องดูเงื่อนไขในการใช้งานด้วยนะครับ
ก่อนจบบทความนี้ ผมต้องขอขอบคุณ พี่ๆที่ MT2 (เอ็ม ที สแควร์) พี่ Jarunee Hongwichulada และทุกท่านที่ Software Park Thailand ที่ช่วยให้ผมสามารถเข้าร่วมงานและได้รับเครื่อง BB10 Dev Alpha B ครับ และผมรับปากว่าจะค่อยๆทะยอยความรู้ที่ได้มา เขียนเป็นบทความนำเสนอต่อไป ตราบที่เวลาอำนวยครับ :-)
รูปที่4
ทุกท่าน จะเห็นได้ว่าเครื่องมือมีอยู่มากมายให้เลือกใช้ ซึ่งในส่วนของผมก็จะค่อยๆดำเนินการนำเสนอ วิธีการใช้งานและเริ่มต้นพัฒนา ในรูปแบบของบทความ และคลิป ต่อไป ก็ขอขอบคุณสำหรับการติดตามเว็บและช่วยคลิกอุดหนุนโฆษณา เว็บเราด้วยนะครับ สำหรับข้อมูลในบทความนี้ ผมก็หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับเพื่อนๆทุกท่าน แล้วพบกันใหม่กับ 9'M
|